 |
|
|
 |
|

 |
ห้องสมุดประชาชนอำเภอหนองม่วงไข่ จำนวน 1 แห่ง |

 |
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 1 แห่ง |

 |
โรงเรียนประถมศึกษาของรัฐบาล จำนวน 1 แห่ง |

 |
โรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล จำนวน 1 แห่ง |

 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง |

 |
โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลหนองม่วงไข่ จำนวน 1 แห่ง |

 |
ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนหนองม่วงไข่ จำนวน 1 แห่ง |
|
|
|
 |
|

 |
รถยนต์ดับเพลิง จำนวน 1 คัน จุน้ำได้ 2,500 ลิตร |

 |
รถบรรทุกน้ำ จำนวน 2 คัน จุน้ำได้ 5,000 ลิตร และ 10,000 ลิตร |

 |
อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จำนวน 180 คน |
|
|
|
|
ประชาชนในพื้นที่ตำบลหนองม่วงไข่ มีการดำรงชีวิตแบบวิถีชาวพุทธ มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจให้เกิดความรักใคร่ สามัคคี
กลมเกลียวกัน นอกจากนี้ประชาชน ในตำบลทุกคนก็ยังมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ปฏิบัติตนตามแนวพระราชดำริ
เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว |
|
|
|
|
|
|
ประชากรส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลตำบลหนองม่วงไข่ นับถือศาสนาพุทธ มีวัด 2 แห่ง คือ |
|

 |
วัดหนองม่วงไข่ มีพระสงฆ์จำนวน 10 รูป และมีเณร 6 องค์ มีพระเมธีธรรมาลังการ รองเจ้าคณะจังหวัดแพร่ เป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดหนองม่วงไข่ |
|

 |
วัดปทุมธรรมานุสิฐตาราม (วัดปากยาง) มีพระสงฆ์จำนวน 1 รูป คือ พระเศกสิทธ์ ฐานิโย เจ้าอาวาสวัดปทุมธรรมานุสิฐตาราม (วัดปากยาง) |
|
|
|
|
|
|

 |
เทศบาลตำบลหนองม่วงไข่มีบุคลากรในด้านสาธารณสุข จำนวน 2 อัตรา คือ เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข นักวิชาการสาธารณสุข |
|

 |
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองม่วงไข่ จำนวน 1 แห่ง โดยมีบุคลากรประจำสถานที่ |
|

 |
อัตรการมีน้ำและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 |
|
|
|
|
ชีวิตความเป็นอยู่จะยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมแบบชาวเหนือ ภาษาพูดเป็นภาษาของชาวบ้านที่เรียกว่า ภาษาเมือง การดำรงชีวิตจะยึดถือตามประเพณีและความเชื่อที่มีมาตั้งแต่เดิมในท้องถิ่น ซึ่งเกี่ยวกับชีวิตของคนไทย เช่น ประเพณีการบวช ประเพณีการทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีแต่งงาน ประเพณีทำศพ ฯลฯ และที่แตกต่างจากประเพณีของชาวไทยในภาคอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด เช่น ประเพณีเอาขวัญ ประเพณีท้าวทั้งสี่ ประเพณีส่งแถน ประเพณีส่งเคราะห์ ประเพณีสืบชะตา ส่วนประเพณีที่เกี่ยวกับศาสนา เช่น ประเพณีตานก๋วยสลาก ประเพณีถวายอาหารพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ |
|
|